แนวทางหลังสำเร็จการฝึกอบรม
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
แนวทางหลังสำเร็จการฝึกอบรม
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
เนื่องด้วยการประกาศพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 มาตรา 258 ช. (5) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดให้มี “ระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม” โดยกำหนดให้แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชากรในพื้นที่ในอัตตราส่วน ประชากร 10,000 คน ต่อแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 1 คน โดยหลักในการดูแลประชากรให้ได้ประสิทธิผลและแตกต่างจากแพทย์แขนงอื่นซึ่งเป็นบทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมี 4 ประการ คือ หนึ่ง.เข้าใจความทุกข์ของประชาชน ต้องมีความสามารถในการสื่อสาร มีความสามารถในการรับฟัง เป็นหมอที่พูดภาษาเดียวกับชาวบ้านได้ สอง.ด่านหน้าแก้ปัญหาสุขภาพ ทำความเข้าใจความทุกข์ของประชาชน และยังสามารถจะส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ซึ่งต้องใช้ความสามารถในการแก้ปัญหาสุขภาพโดยทั่วไป สาม.อุดช่องว่างทางการรักษา ตัวอย่างของการผสานงานระหว่างแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นที่ทำให้การรักษาโรคมีความหวังมากขึ้น สี่.ทำงานเป็นระบบ ส่งต่อ และดูแลต่อเนื่อง แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวอาจจะคัดเลือกคนที่น่าจะได้รับการรักษาตั้งนานแล้ว แต่ว่าไม่รู้เรื่องก็เลยเข้ามาสู่การรักษาผ่าตัดช้า แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวก็จะเข้าถึงได้เร็ว สามารถให้คำแนะนำ และทำให้เกิดการดูแลแก้ไขในเชิงเชี่ยวชาญ
หลังจากจบการศึกษาแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว แพทย์แต่ละคนได้ดำเนินการทำงานในฐานะของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่แตกต่างกันออกไปตามบริบทของพื้นที่ และสถานบริการสุขภาพที่ได้ไปปฎิบัติงานอยู่ โดยสถานบริการที่เราจะสามารถไปปฎิบัติงานได้นั้น ครอบคลุมไปทั้งสถานบริการภาครัฐ และสถานบริการสุขภาพที่ไม่ใช่รัฐ โดยภาระงานจะมุ่งไปในทิศทางที่มีลักษณะจำเพาะต่อแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมากยิ่งขึ้น เช่น
มีแพทย์จำนวนหนึ่งที่เมื่อจบการศึกษา มีความสนใจ มีสมรรถภาพในการเป็นอาจารย์แพทย์ ก็จะปฎิบัติงานเป็นอาจารย์แพทย์เพื่อที่จะผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวรุ่นต่อๆไป ทั้งนี้แพทย์ในกลุ่มนี้จะกระจายตัวอยู่ในสถานบริการสุขภาพ 3 รูปแบบ ซึ่งคือ หนึ่ง.วิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยหลักการปฎิบัติงานจะมุ่งเน้นด้านการเรียนการสอน(Education service) ซึ่งดูแลครอบคลุมทั้งนักศึกษาแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน สอง.โรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัด (รพศ.) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่มีความสามารถผลิตแพทย์ ซึ่งลักษณะการปฎิบัติงานจะมีทั้งการเรียนการสอน และการให้บริการสุขภาพ (Healthy service providing) สำหรับบริบทด้านการเรียนการสอยชองแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในโรงพยาบาลชุมชนนั้น บทบาทอาจจะไม่ใช่ อาจารย์แพทย์โดยตรง แต่ก็ทำหน้าที่เป็นแพทย์พี่เลี้ยง ช่วยดูแลและเป็นที่ปรึกษาแพทย์ประจำบ้านรุ่นน้อง
เนื่องด้วยตามพระราชบัญญัติสุขภาพปฐมภูมิประเทศไทยปีพุทธศักราช 2563 ซึ่งกำหนดให้แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบในอัตราประชากร 10,000 คน ต่อแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 1 คนซึ่งในทีมจะประกอบด้วยหลากหลายสาขาสหวิชาชีพทั้งทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการ เป้าหมายเพื่อให้ครอบครัว ชุมชน มีสุขภาพดีได้รับความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาสุขภาพ และมีระบบการดูแลสุขภาพที่ตอบสนองปัญหาด้านสุขภาพและดูแลกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
บทบาทของแพทย์ในทีมหมอครอบครัวจะมีทั้งเป็นแพทย์ผู้ให้บริการปฐมภูมิ โดยปฏิบัติงานเป็นหัวหน้า ให้บริการ ครบวงจรแก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบร่วมกับทีมหมอครอบครัวในหน่วยบริการใกล้บ้าน ทั้งด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการเยี่ยมบ้านและทำงานเชิงรุกในชุมชนโดย ประยุกต์หลักการและวิธีการทางเวชศาสตร์ครอบครัวอย่างเต็มรูปแบบมี ปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชน ทำให้เข้าใจและเข้าถึงผู้รับบริการ สามารถให้การดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม ผสมผสานและต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
ซึ่งจะปฎิบัติงานในสถานบริการสุขภาพต่างๆกันไป ประจำที่หน่วยสุขภาพประฐมภูมิ(Primary care unit)ของโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัด โรงพยาบาลชุมชน การให้บริการดูแลสุขภาพจะเป็นทั้งในเชิงรุก และเชิงรับ โดยจะเป็นด่านหน้าในการดูแลผู้ป่วย (First contact) มีความรู้ความสามารถที่หลากหลาย สามารถดูแลและให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพของคนในครอบครัว ทุกเพศ ทุกวัย ทุกโรค ในลักษณะผสมผสาน (Comprehensive care) ซึ่งประกอบด้วย การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสภาพ แพทย์ครอบครัวทุกคนพร้อมที่จะไปดูแลเยี่ยมเยียนผู้ป่วยที่บ้าน (Home care) เพื่อดูแลทั้งในด้านความเจ็บป่วยและสุขภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous) โดยพร้อมที่จะเป็นเพื่อนคู่คิด คู่ปรึกษาและเยียวยาปัญหาสุขภาพทุกคนในครอบครัวแบบระยะยาว ไม่ทอดทิ้งกัน แม้ว่าบางครั้งอาจจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรักษากับแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่น แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวก็จะมีระบบส่งต่อและประสานงาน ที่เหมาะสม โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวอาจร่วมดูแลผู้ป่วยกับแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่น และดูแลต่อเนื่องเมื่อการรักษากับแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่นสิ้นสุดลง
โดยลักษณะการให้บริการสุขภาพนั้นจะคล้ายกันกับสถานสถานบริการสุขภาพของรัฐ แต่การบริการที่แตกต่างออกไปหากมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในสถานบริการสุขภาพที่ไม่ใช่รัฐ คือ การดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง(Continuous care) เครื่องมือที่สำคัญคือ การเยี่ยมบ้าน (Home care visiting) การให้การบริการแพทย์ครอบครัวจะมุ่งเน้นไปที่การดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง(Patient center care) จะให้ความสำคัญกับการพูดคุยสื่อสาร (communication skill) ให้เวลาในการพูดคุยและซักถาม ทั้งในด้านความเจ็บป่วยและความเป็นอยู่ของคนในครอบครัวอย่างละเอียด ทำให้ทั้งความสัมพันธ์ และเกิดความพึงพอใจของทั้งผู้ให้ และผู้รับบริการเป็นไปด้วยดี
การดูแลประคับประคองเป็นวิธีการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นระยะสุดท้ายของโรคและครอบครัว โดยให้การป้องกันและบรรเทาอาการตลอดจนความทุกข์ทรมานด้านต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น การดูแลจะเน้นการดูแลที่เป็นองค์รวมครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพอันได้แก่ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณของผู้ป่วยทั้งนี้เป้าหมายหลักของการดูแลคือ การลดความทรมานของผู้ป่วย เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และทำให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบหรือ “ตายดี”โดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสุขสบายที่สุด ในวาระสุดท้ายของชีวิต โดยมีการจัดตั้งศูนย์การดูแลประคับประคอง กระจายไปทั้งประเทศ ในแต่ละสถานบริการสุขภาพทั้งของภาครัฐ และไม่ใช่ภาครัฐ เช่น ศูนย์ชีวัณกตัญญู โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ศูนย์การุณรักษ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นอีกทั้งแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวประจำโรงพยาบาลชุมชนยังสามารถให้คำปรึกษา (Consultant) การดูแลผู้ป่วยประคับประคองอีกด้วย
โดยทั่วไปนั้นสถานประกอบการทั้งในภาครัฐและไม่ใช่รัฐ จะกำหนดให้มีการตรวจสุขภาพบุคลากรประจำทุกปี ตามนโยบายของสถานประกอบการนั้นๆ เช่น การตรวจสุขภาพของเด็กนักเรียนในโรงเรียน การตรวจสุขภาพของข้าราชการตำรวจ หรือการตรวจสุขภาพให้เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด เช่น การตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว ซึ่งแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวนั้นมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดำเนินการให้การแนะนำและสามารถส่งต่อผู้ป่วย (Refer in) ได้อย่างเหมาะสม
เนื่องจากแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพ การบรรยายให้ความรู้ต่างผ่านสื่อต่างๆโดยมีเครื่องมือในการกระจายทั้ง สื่อวิทยุ ระบบกระจายเสียงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จึงเป็นการกระจายเสียงที่มีประสิทธิภาพอย่างนึง ทั้งการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยานอกบัญชี เช่น ยาสุมนไพร ยาเสริมอาหาร สื่อเหล่านี้จะถูกดัดแปลงให้เข้ากับบริบทชุมชน ทั้งภาษาพื้นเมือง และเนื้อหาการให้ความรู้ที่ใช้
การทำงานจะเกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ (Geriatric medicine) ซึ่งเป็นการดูแลผู้สูงอายุรอบด้าน และ Palliative care มีการดูแลต่อเนื่อง รวมไปถึงการเยี่ยมบ้าน