ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์
(intended learning outcomes) ของแผนการฝึกอบรม
(intended learning outcomes) ของแผนการฝึกอบรม
กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และเครือข่ายการฝึกอบรมมุ่งเน้นในแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัวที่มีคุณสมบัติดังนี้คือ
มีความรู้ความสามารถในเวชปฏิบัติที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับบริบทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
มีความสามารถในการทำงานแบบมืออาชีพ
สามารถปฏิบัติงานแบบ สหวิชาชีพหรือเป็นทีมได้
มีเจตนารมณ์และเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต
มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัยเพื่อการแก้ไขปัญหาและการส่งเสริมสุขภาพ โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม
มีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อเพื่อนร่วมงานทั้งในวิชาชีพของตนเองและวิชาชีพอื่นๆ รวมทั้งผู้ป่วยและญาติ
มีความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มพูนทักษะของการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มาตรฐานความรู้ความชำนาญของแพทย์เฉพาะทาง สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถตามสมรรถนะ (competency) หลักทั้ง 6 ด้านดังนี้ (ความรู้พื้นฐานเพื่อบรรลุแต่ละสมรรถนะระบุในภาคผนวกที่ 1 หน้า 38 ในมาตรฐานคุณวุติความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (มคว.1) ของราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย)
5.1. การบริบาลผู้ป่วย (Patient care) ให้การบริบาลและปฏิบัติงานต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีการกำกับดูแล โดย
5.1.1. สามารถให้การดูแลผู้ป่วยร่วมกับการดูแลระดับครอบครัว (Family Oriented approach) และระดับชุมชน (Community oriented approach)
5.1.2. สามารถให้การดูแลครอบคลุมทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ (Comprehensive care) โดยใช้หลักผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (patient centered medicine) บนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม (holistic care)
5.1.3. ดูแลผู้ป่วยนอก (Ambulatory care) ทั้งผู้ป่วยเฉียบพลัน (Acute care) และผู้ป่วยเรื้อรัง (Chronic care) สามารถรับปรึกษา ส่งปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
5.1.4. ดูแลผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลได้อย่างเหมาะสม (Appropriated inpatient care)
5.1.5. สามารถให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home care) โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ และทุพพลภาพ
5.1.6. สามารถให้การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
5.2. ความรู้และทักษะหัตถการทางเวชกรรม (Medical Knowledge and Procedural Skills) สามารถทำเวชปฏิบัติได้อย่างครอบคลุมและเหมาะสมกับบริบทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวโดย
5.2.1. เข้าใจวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของร่างกายและจิตใจ ของระดับบุคคลทุกกลุ่มวัย
5.2.2. มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และเชี่ยวชาญในสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
5.2.3. มีความรู้ความสามารถในการดูแลโดยมุ่งเน้น ตั้งแต่ระดับบุคคล (Whole Person Approach) ครอบครัว (Family Oriented Approach) และชุมชน (Community Oriented Approach)
5.3. ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)
5.3.1. ดูแลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและการดูแลแบบองค์รวม (Person-centered and Holistic Care)
5.3.2. สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างแพทย์ ผู้ป่วย และครอบครัวผู้ป่วย (Doctor-patient-family relationship) โดยสามารถสื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย ญาติ ครอบครัวและชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ มีเมตตา เคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5.3.3. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ
5.3.4. เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์และบุคลากรอื่น โดยเฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัว
5.3.5. นำเสนอข้อมูลผู้ป่วยและอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
5.3.6. ถ่ายทอดความรู้และทักษะให้แพทย์ นิสิตแพทย์ นักศึกษาแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ตลอดจนประชากรในชุมชนที่รับผิดชอบ
5.4. การเรียนรู้และการพัฒนาตนเองจากการปฏิบัติ (Practice-Based Learning and Improvement)
5.4.1. เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ
5.4.2. สามารถปฏิบัติงานแบบสหสาขาวิชาชีพหรือเป็นทีมได้
5.4.3. วิพากษ์บทความและงานวิจัยทางการแพทย์ได้
5.4.4. ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้
5.4.5. นำหลักฐานเชิงประจักษ์มาประยุกต์ใช้ในเวชปฏิบัติ
5.5. ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยมและความเป็นมืออาชีพ(Professionalism)
5.5.1. มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน
5.5.2. มีความสนใจใฝ่รู้และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตและพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (continue medical education and professional development)
5.5.3. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
5.5.4. คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมและจริยธรรมทางการแพทย์
5.6. การทำเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพและการใช้ชุมชนเป็นฐาน (System and Community based Practice)
5.6.1. มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศและนานาชาติ (Global and national perspective on health care system)
5.6.2. มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการบริการปฐมภูมิ (Primary care management)
5.6.3. มีความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำ และสามารถเป็นผู้นำในองค์กร การทำงานร่วมกับหน่วยงานนอกองค์กรและชุมชน (Leadership)
5.6.4. มีความเข้าใจเรื่องหลักการประกันคุณภาพ ระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย และสามารถร่วมดำเนินการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Quality assurance and Continuous Quality improvement)
5.6.5. มีทักษะ non-technical skills และมีความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากร (Patient and personnel safety)
5.6.6. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยี (Information management and technology)
5.6.7. มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารการเงินและเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (Financial management and health economics, cost Consciousness Medicine)
5.6.8. มีความรู้เกี่ยวกับการทำเวชปฏิบัติปฐมภูมิโดยใช้ชุมชนเป็นฐานและสามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน (Community-oriented primary care and community participation)